วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

week 5

Class 5: Information Technology Economics

                ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาที่จำเป็นมากต่อการดำเนินธุรกิจ ด้วยความสามารถในการประมวลผล และช่วยลดความผิดพลาดจากการบันทึกรายการลงบนกระดาษ หลายๆองค์กรจึงลงทุนในเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้โดยที่บางครั้งอาจไม่ได้คิดว่าองค์กรจะได้รับประโยชน์จากการใช้งานเทคโนโลยีนั้นๆอย่างไรบ้าง
                          จากความน่าจะเป็นทั่วๆไปแล้วหากองค์กรนำเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆเข้ามาใช้ในองค์กรก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กรได้ และยิ่งลงทุนกับเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรมากขึ้นตามไปด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้วผลงานวิจัยบางชิ้นนั้นไม่สามารถวัดผลตอบแทนจากการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศได้ หรือ ไม่สามารถที่จะวัดประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆมาใช้ได้ ซึ่งความขัดแย้งนี้ถูกเรียกว่า Productivity Paradox
                ถึงแม้ว่าบางครั้งจะไม่สามารถวัดประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศได้ แต่ Lucas (2005) ก็ได้แยกแยะให้เห็นถึงประโยชน์ในการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศใน 2 ด้านคือ ผลกระทบทางตรง เช่น ต้นทุนทางตรงที่ลดลง, การเพิ่มรายได้ หรือกำไรที่เพิ่มขึ้น และ ผลกระทบทางอ้อม เช่น ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นขององค์กร อย่างไรก็ตามการที่จะลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศก็มีความจำเป็นที่จะต้องวัดผลประโยชน์จากการลงทุนและต้นทุนที่ต้องเสียไปเพื่อที่จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่าควรจะลงทุนในเทคโนโลยีนั้นๆหรือไม่
                         การประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีวิธีต่างๆมากมายขึ้นอยู่กับความเหมาะสมซึ่งแสดงในตารางดังนี้
วิธีที่เลือกใช้
ข้อดี
ข้อเสีย
Internal rate of return (IRR)
- ทำให้ทุกๆการลงทุนนั้นสามารถเปรียบเทียบกันได้
- การจะเปรียบเทียบได้นั้นจะต้องมีอัตราผลตอบแทนที่เท่าๆกัน
- อาจมีหลายคำตอบ
Net present value (NPV)
ใช้กันโดยทั่วไป สามารถที่จำคำนวณยอดผลตอบแทนที่มากที่สุดได้
- ไม่สามารถใช้เปรียบเทียบกับโครงการที่จำนวนเงินลงทุนแตกต่างกันมากๆได้
Payback period
- อาจคำนึงถึงค่าเงินตามเวลาหรือไม่ก็ได้ และสามารถวัดความเร็วของกระแสเงินเข้าได้
- มองข้ามกระแสเงินสดที่จะเข้ามาหลังจากที่เกินจุดคุ้มทุนไปแล้วซึ่งอาจจะมีมูลค่ามาก
Benefit-to-cost analysis or ratio
สามารถเปรียบเทียบกันแต่ละการลงทุนได้
- แยกแยะยากระหว่างค่าใช้จ่ายและเงินลงทุน
Economic value added
วัดค่าผลตอบแทนที่สร้างขึ้นเพื่อผู้ถือหุ้น
- คำนวณหากำไรที่แท้จริงได้ยาก

                นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีอื่นๆที่สามารถใช้วัดประโยชน์จากการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศอีกเช่น TCO, Benchmarks, Balance scorecard เป็นต้น
                การตัดสินใจที่จะลงทุนหรือไม่ลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลจากการวิเคราะห์เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องพึ่งอำนาจตัดสินใจจากผู้บริหารระดับสูงด้วย ผู้บริหารเองจึงต้องมีการศึกษาข้อมูลด้านเทคโนโลยีต่างๆอยู่เสมอ และพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เข้าใจถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารไปถึงกลุ่มลูกค้าเช่น การโฆษณาผ่านทาง facebook นอกจากนี้ยังอาจช่วยในการดำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนให้คนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น คล้ายกับนโยบายประหยัดพลังงานของการไฟฟ้าที่จำให้ใช้ไฟฟรีจนถึงหน่วยหนึ่ง เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานมากขึ้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับการใช้ สร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กรนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น