วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

week 14

week 14
                Web 2.0 พัฒนาขึ้นทำให้เกิดการติดต่อพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันผ่านโลกออนไลน์สร้างให้เกิดประโยชน์ และเกิดแหล่งข้อมูลออนไลน์ขึ้น เช่น Wikipedia เมื่อโมเดลนี้มีความชัดเจนขึ้นจึงเริ่มมีการตลาดผ่านทางสื่อออนไลน์มากขึ้นเช่น iTunes Amazon เป็นต้น

Elements of Interaction in a Virtual Community
-          Communication: เช่น เว็บบอร์ด, ห้องสนทนา, อีเมลล์, หรือ voting ซึ่งมีตัวอย่างที่สำคัญคือ โอบามา ที่สามารถสร้างกระแสให้คนไปโหวตให้จนชนะการเลือกตั้งได้ เป็นต้น
-          Information: เช่น สมุดหน้าเหลือง หรือเว็บไซต์ที่มีความสามารถในการค้นหาข้อมูล
-          EC Element: เช่น โฆษณา

Issues For Social Network Services
-          ขาดความปลอดภัยในเรื่องความเป็นส่วนตัว เนื่องจากข้อมูลอาจจะถูกคนอื่นที่เราไม่รู้จักเข้าดูได้
-          อาจมีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมในการพูดคุย รวมถึงคำแสลงต่างๆ
-          เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน
-          เป็นช่องทางในการกระทำสิ่งผิดกฎหมาย

Enterprise Social Networks Characteristics
                Enterprise 2.0 ไม่ได้ใช้ทั่วไปเพียงอย่างเดียว แต่ใช้ภายในองค์กรด้วย เพราะ Social networks ทั่วไปอาจไม่มีความเป็นส่วนตัว จึงต้องสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ภายในองค์กร แต่ก็อาจใช้ Social networksทั่วไป ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ด้วย

Retailers Benefit from Online Communities
-          เป็นแหล่งข้อมูล ในการรับเสียงตอบรับจากลูกค้า หรือผู้ที่ใช้สินค้าของบริษัทจริงๆ
-          Viral marketing เช่น Burger King ที่ทำโฆษณาเขวี้ยงบีบี  
-          เพิ่มยอดขายและกำไร จากการที่ได้ข้อมูลและทำให้ทำการตลาดได้ตรงความต้องการลูกค้ามากขึ้น

ประเด็นปัญหาต่างๆ
-          Information Overload: ปริมาณข้อมูลที่มากทำให้ไม่สามารถที่จะตัดสินใจได้อย่างง่ายๆ เช่นข้อมูลอาจจะไม่ตรงกันเป็นต้น
-          Information Quality: มีความจำเป็นอย่างมากในการทำงาน ดังนั้นจึงต้องระวังในเรื่องของความเกี่ยวข้องกันของข้อมูลและระวังในเรื่องของการตัดข้อมูลที่สำคัญออกไป
-          Spam: สร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้
-          Dehumanization & Other Psychological Impacts: อาจทำให้คนลดความเป็นตัวของตัวเองลง ซึมเศร้า หรือว่าอาจจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
-          Impacts on Health & Safety: เช่น การใช้คอมเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมือ สายตา หรืออาการปวดเมื่อยตามร่างกาย






วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

week 13

Week13: การรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศและจรรยาบรรณเบื้องต้น
ความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ (Information system risk) หมายถึง เหตุการณ์หรือการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียหรือทำลายฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล สารสนเทศ หรือความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของระบบ
ซึ่งเกิดขึ้นจากผู้ที่ไม่หวังดีต่อข้อมูลขององค์กร เช่น แฮกเกอร์ แครกเกอร์ หรือแม้กระทั่งผู้บริหารภายในองค์กรเอง เนื่องจากข้อมูลที่เป็นความลับภายในบริษัทนั้นมีความสำคัญอย่างมาก จึงทำให้อาจเกิดการขโมยข้อมูลออกไปขายได้ซึ่งคามเสี่ยงจากการถูกคุมคามมีดังนี้
1.การโจมตีระบบเครือข่าย (Network attack)
-การโจมตีขั้นพื้นฐาน (Basic Attacks)  เช่น กลลวงทางสังคม (Social engineering) และการรื้ออค้นเอกสารทางคอมพิวเตอร์จากที่ทิ้งขยะ (Dumpster Diving )
-การโจมตีด้านคุณลักษณะ (Identity Attacks) เช่น DNS Spoofing และ e-mail spoofing 
-การปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service หรือ DoS) เช่น Distributed denial-of-service (DDoS) , DoSHTTP (HTTP Flood Denial of Service
-การโจมตีด้วยมัลแวร์ (Malware)
-โปรแกรมมุ่งร้ายที่โจมตีการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ (Computer’s operations) ประกอบด้วย ไวรัส (Viruses) เวิร์ม (Worms) โทรจันฮอร์ส (Trojan horse) และลอจิกบอมบ์ (Logic bombs)
-และโปรแกรมมุ่งร้ายที่โจมตีความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ (Information privacy) ที่มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สปายแวร์ (Spyware) ประกอบด้วย แอดแวร์ (Adware) พิชชิง (Phishing) คีลอกเกอะ (Keyloggers) การเปลี่ยนการปรับแต่งระบบ (Configuration Changers) การต่อหมายเลข (Dialers) และ แบ็คดอร์ (Backdoors)
2.การเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Unauthorized access) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่มีสิทธิ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์หรือข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำกิจกรรมบางอย่างที่ผิดกฎระเบียบของกิจการหรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย
3.การขโมย (Theft)
4.ความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ (System failure)
                เนื่องจากข้อมูลต่างๆในองค์กรนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากจึงทำให้ต้องมีการป้องกันความเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ เช่นการใช้ Firewall ในการป้องกันไวรัส หรือการใช้ซอฟแวร์อื่นในการป้องกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงการระบุถึงตัวตนในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆเช่น การสแกนม่านตา การใช้รหัสผ่านเพื่อจำกัดการเข้าถึงข้อมูล และการป้องกันเครื่องเซิฟเวอร์ขององค์กรจากการป้องกันทางกายภาพอีกด้วย แม้ว่าจะมีการป้องกันดังกล่าวแล้วบริษัทก็ควรจะทำการสำรองข้อมูลต่างๆเก็บไว้เผื่อในกรณีที่ป้องกันไม่สำเร็จด้วย
จรรยาบรรณ
จรรยาบรรณทางคอมพิวเตอร์ คือหลักปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย
-                     การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
-                     การขโมยซอฟต์แวร์ (การละเมิดลิขสิทธิ์)
-                     ความถูกต้องของสารสนเทศ เช่น การตกแต่งรูปภาพ เป็นต้น
-                     สิทธิ์ต่อทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property rights)
-                     หลักปฏิบัติ (Code of conduct)
-                     ความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ (Information privacy)
-                     ต้องไม่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นเหมือนเป็นของตน
-       ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมของโปรแกรมที่ออกแบบ
-       ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงให้เห็นถึงความเคารพในมนุษย์แต่ละคน



วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

week12

Week12: CRM
                เนื่องจากการแข่งขันอย่างรุนแรงในการดึงลูกค้าของธุรกิจในปัจจุบัน ในขณะที่จำนวนลูกค้านั้นไม่ได้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น การรักษาลูกค้าเดิมไว้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน หลายองค์กรจึงนำ CRM (Customer Relationship Management) มาใช้ในการรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ นอกจากจะใช้เพื่อบริการลูกค้าแล้ว CRM ยังช่วยในการเก็บข้อมูลพฤติกรรมต่างๆของลูกค้า เพื่อใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการบริการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่าแก่องค์กรได้ในอนาคตด้วย
                ประโยชน์ของ CRM
                -ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า ทำให้วางแผนทางด้านการตลาด และการขายอย่างเหมาะสม
                -เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
                -ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร

CRM Software
1.Sale Force automation: SFA ซึ่งประกอบด้วย
                -ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
                -ระบบพาณิชย์อีเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing
                -ระบบงานสนามด้านการขาย
2.Customer Service: Call Center ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ
3.ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สนับสนุนการรณรงค์การทำตลาดโดยตรง
4.Data warehouse เป็นส่วนสำคัญในการเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลภายในและข้อมูลภายนอก
Classification of CRM Applications
-Customer-facing เก็บข้อมูลลูกค้าที่ติดต่อเข้ามายังองค์กร
-Customer-touching เก็บข้อมูลจากการบริการตนเองของลูกค้า
-Customer-centric intelligence นำข้อมูลต่างๆมาวิเคราะห์และสรุปผลเพื่อทำกลยุทธ์ด้าน CRM 
-Online networking ใช้ช่องทางออนไลน์ในการติดต่อพูดคุยกับลูกค้า

ประเภทและระดับของ e-CRM
-Foundation service เป็นบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้ลูกค้าใช้งาน เช่น website
-Customer centered services เป็นบริการที่ลูกค้าต้องการโดยส่วนมากจะอยู่บน web เช่นการติดตามสินค้าที่ส่งแล้ว หรือติดตามเรื่องของสินค้าที่สั่งว่าทางองค์กรได้รับทราบหรือไม่
-Value-added services บริการเสริมเพิ่มเติม
-Loyalty programs เป็นการเพิ่มความภักดีต่อตราสินค้าให้กับลูกค้า เช่น การให้คูปองส่วนลดสำหรับสมาชิก

Tools for Customer Service
เครื่องมือที่จะใช้ในการบริการลูกค้า มีอยู่ทั่วไป เช่น  Social Media เช่น facebook, hi5, Personalized web pages, FAQs, Email & automated response,Live chat, Call centers


Knowledge MAnagement System (KMS)
                การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการพัฒนาตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร
                การทำ KMS จะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาพนักงานใหม่ๆได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากสามารถหาความรู้ที่รุ่นก่อนๆได้หาทางแก้ไขไว้ และนอกจากนี้ยังช่วยให้มีการทำผิดซ้ำน้อยลงด้วย ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถที่จะพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว และความรู้เหล่านี้ก็จะถูกเก็บไว้กับองค์กรทำให้พนักงานใหม่ๆที่จะเข้ามาในอนาคตมีแบบอย่างในการทำมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการยกระดับการทำงานขององค์กรให้อยู่เหนือคู่แข่งที่ไม่ได้ทำ KMS ได้
                การสร้างองค์ความรู้สามารถสร้างได้โดยการดึงความรู้ออกมาจากผู้ชำนาญ ให้อยู่ที่รูปของตัวอักษรหรือรูปภาพที่คนอื่นๆสามารถเข้าใจได้ แต่ก็ไม่สามารถจะนำความถนัดที่ฝังลึกอยู่ในแต่ละบุคคลออกมาได้ จากนั้นนำความรู้เรื่องเดียวกันแต่จากต่างบุคคลมารวมกันเพื่อให้ได้ความรู้ที่มากยิ่งขึ้น จากนั้นก็เผยแพร่ให้กับคนอื่นๆในองค์กรได้รับทราบซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาบุคลากรขององค์กรได้อย่างมาก

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

week 11

 week 11: Web mining
เป็นการทำเพื่อดูว่าผู้ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์นั้นมีลักษณะการใช้งานอย่างไร เพื่อนำพฤติกรรมในการใช้งานไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
  1.Web Content Mining เป็นการดูถึง Content ต่างๆ บนเว็บ ว่าผู้ใช้งานเข้าไปชมส่วนไหนเป็นเวลาเท่าใด แสดงให้เห็นถึงความสนใจของผู้เข้าชมเว็บไซต์
  2.Web Structure Mining ดูถึงโครงสร้างของเว็บ หรือ URL ว่าผู้ใช้งานสามารถที่จะจำ URL ได้หรือไม่
          3.Web Usage Mining เป็นการดูพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้ใช้งานว่า ดูในส่วนไหนบ้าง เมื่อดูส่วนนี้แล้วจะไปดูต่อที่ส่วนไหน แล้วสุดท้ายเกิดการซื้อหรือไม่

Strategic Information System Planning
                เนื่องจากระบบ IT นั้นมีขนาดใหญ่ ต้องรองรับการใช้งานที่แตกต่างกันเป็นจำนวน รวมถึงยังต้องสามารถที่รองรับงานสำหรับองค์กรที่จะเติบโตขึ้นในอนาคต การวางแผนดำเนินงาน IT จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะได้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งมีแนวทางการวางแผนดังนี้  

1.Four-stage Planning Model
          เป็น model ที่มีความละเอียดมากที่สุด โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย และรายละเอียดอื่นๆดังนี้
          1.Strategic Planning  มองภาพรวมขององค์กรว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น เป็นเครื่องมีหลักขององค์กรหรือเป็นเครื่องมือเสริม สนับสนุนการทำงานมากน้อยเพียงใด โดยแบ่งได้เป็น 4 ข้อย่อยคือ
1.               IS Mission พิจารณาถึงการใช้งาน IT ว่าจะเป็นเครื่องมือหลัก หรือเครื่องมือเสริมการทำงานขององค์กร
2.               Access Environment ประเมินสภาพแวดล้อมขององค์กรในปัจจุบัน เช่น ความสามารถของ IT ในปัจจุบัน
3.                access organizational objectives strategies ประเมินวัตถุประสงค์ขององค์กร
4.               set IT policies objectives strategies ตอบคำถามที่ว่าองค์กรมองความสำคัญของระบบสารสนเทศอย่างไร

   2.Organizational Information Requirements Analysis ดูความต้องการในภาพรวมขององค์กรว่าต้องการใช้งาน IT เพื่อทำอะไร จะได้ออกแบบระบบให้สอดคล้องกันกับการทำงานแบ่งออกเป็น 2 ข้อย่อย คือ access organizations information requirement คือ ประเมินความต้องการด้านข้อมูลขององค์กรทั้งในปัจจุบันและความเป็นไปได้ในอนาคต และ assemble master development plan คือ การจัดสรรลำดับของการได้มาของระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดประโยชน์สูงสุด

          3.Resource Allocation Planning คือ การประเมินและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม ว่าต้องมีการเตรียมการอะไรบ้าง เช่น ซอฟต์แวร์ บุคลากร หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นต้น

          4.Project Planning เป็นการประเมินความคุ้มค่าของระบบ โดยอาจพิจารณาได้จากหน้าที่งาน ต้นทุนของระบบเป็นต้น ซึ่งหากไม่คุ้มค่า จะต้องทบทวนและปรับเปลี่ยนตั้งแต่ข้อ 2 ไล่ลงมา แล้วจึงสามารถดำเนินการต่อได้
2.The Business Systems Planning (BSP)
         เป็นแนวทางการวางแผนที่ IBM เป็นผู้คิดค้นและผลิตขึ้นมา โดยมีแนวคิดที่สำคัญคือการมองถึงกระบวนการก่อน แล้วจึงมองถึงว่าต้องใช้ข้อมูลใดบ้าง ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ระบบ IT ที่เกิดขึ้นไม่ผูกติดอยู่กับแผนกใดแผนกหนึ่งแต่จะติดกับกระบวนการทำงานมากกว่า  ซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรนั้นไม่กระทบต่อระบบ IT รวมถึงเป็นการเน้นการทำงานแบบ Topdown และ Bottomup ด้วย
ข้อดี        -เห็นภาพของระบบทั้งหมดอย่างชัดเจน และเป็นขั้นเป็นตอน

ข้อเสีย     –ใช้เวลาในการทำแผนนาน เนื่องจากต้องวิเคราะห์ข้อมูลเป็นจำนวนมาก
-อาจยังไม่ได้คำนึงถึงความต้องการในอนาคต

3.Critical Success Factors (CSF)
         คือประเด็นสำคัญในการที่จะทำให้องค์กรอยู่รอด ซึ่งควรจะเหลืออยู่เพียงไม่กี่ประเด็น อาจได้จากการสอบถาม พูดคุยกับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งหากสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริหารระดับสูงได้จะเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ก็ต้องมีระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผู้บริหารด้วย รวมถึงยังต้องมีการลำดับความสำคัญและระบบ IT ที่จะมารองรับการทำงานด้วย

ข้อดี        -ใช้ข้อมูลในการวางแผนน้อยกว่า BSP
-มีการมองถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ข้อเสีย     -ผู้วางแผนจะต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูง
-ประเด็นที่เกิดขึ้นนั้นอาจทำการวิเคราะห์รวมถึงการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตก็ทำได้ยาก


วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

week 10

Week10: Enterprise Systems (SCM & ERP)
                ระบบสารสนเทศภายในองค์กรจะแบ่งตามแผนกต่างๆภายในองค์กร เนื่องจากแต่ละแผนกจะมีความต้องการข้อมูลที่แตกต่างกัน ทำให้มีระบบที่ถูกใช้งานในแต่ละส่วนงานแตกต่างกัน แต่สำหรับ Enterprise Systems เป็นระบบที่มีความเป็นมาตรฐาน ทำให้ทั้งองค์กรพูดคุยกันด้วยภาษาเดียว แต่เนื่องจากตัวระบบมีราคาแพง อาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนในบริษัทเล็กๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระบบที่ใช้จะสร้างความไม่สบายใจให้กับบุคลากรเดิมขององค์กรที่ถนัดและคุ้นเคยกับการใช้ระบบแบบเดิมจึงทำให้การเปลี่ยนจากระบบเดิม มาใช้ระบบ Enterprise นั้นอาจทำได้ยาก
                ระบบที่จะศึกษาในวิชานี้มี 4 ระบบคือ
ERP: Enterprise Resource Planning
CRM: Customer Relationship Management
KM: Knowledge Management Systems
SCM: Supply Chain Management Systems

1. Supply Chain Management Systems
                                เป็นระบบที่ใช้ในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นของการผลิต คือการรับวัตตุดิบจาก Supplier ซึ่งอาจมีได้มากกว่า 1 ขั้น ไปจนถึงสิ้นสุดกระบวนการคือการขายสินค้าให้กับลูกค้า ระบบสารสนเทศจะช่วยให้การส่งต่อข้อมูล และการรายงานผลเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ซึ่งในระบบนี้จะมีระบบย่อยต่างๆที่ใช้เสริมการทำงาน เช่น
                -Warehouse Management System (WMS) เป็นระบบที่ใช้การงานภายในคลังสินค้า ว่าควรจะจัดชั้นวางสินค้าอย่างไร และมีการเก็บข้อมูลว่าสินค้าใดอยู่ส่วนไหนของคลัง
                -Inventory Management System (IMS) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้า
                -Fleet Management System เป็นระบบติดตามสินค้าว่าสินค้าจัดส่งไปถึงที่ไหน รวมถึงทราบถึงว่าจะขนสินค้าใดกลับมาที่คลังสินค้า ทำให้สามารถรายงานการขนส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็ว
                -Vehicle Routing and Planning เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการจัดส่งสินค้าให้มีความคุ้มค่าสูงสุด
                - Vehicle Based System เป็นระบบที่ใช้ติดตามรถที่ใช้ขนส่งผ่าน GPS
10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management
1.                   Connectivity: การเชื่อมต่อต่างๆ เช่น wireless  Bluetooth หรือ GPRS 8.02.11n (เป็นระบบคล้าย wifi แต่มีความเร็วที่สูงกว่า คือมีความเร็วประมาณ 600 Mbit/s หรือเร็วกว่า internet ที่ใช้ในบ้านประมาณ 10 เท่า)
2.                   Advanced Wireless : Voice & GPS เป็นระบบ Wireless ที่สามารถใช้เสียงในการสั่งการได้
3.                   Speech Recognition: การสั่งงานด้วยเสียง 
4.                   Digital Imaging: การประมวลผลภาพดิจิตอล สามารถทำให้เอกสารเป็นดิจิตอล เช่น ส่งใบเสร็จรับเงินเป็นไฟล์ได้
5.                    Portable Printing: ช่วยให้สามารถพิมพ์ใบสั่งซื้อ ใบเสร็จได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
6.                   2D & other bar-coding advances
7.                   RFID: เป็นชิพขนาดเล็ก สามารถปล่อยคลื่นจากตัวเองได้ สามารถใช้ติดบัตร หรือติดกับตัวสินค้าเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบได้
8.                    Real Time Location System; RTLS: ระบบแสดงตำแหน่งตามเวลาจริง สามารถใช้ติดตามสินค้าที่กำลังขนส่ง หรืออาจใช้ในการติดตามตัวสินทรัพย์ได้
9.                    Remote Management : การจัดการทางไกล เป็นระบบที่ช่วยให้สั่งงานได้ในระยะไกล โดยมีการใช้ Wireless LAN ช่วย
10.                Security: ระบบที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย
การมีระบบ Supply Chain ที่ดีช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีการเก็บสินค้าคงคลังน้อยลง ลดความเสี่ยงในการสูญเสียสินค้าในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังมีการจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพด้วย และที่สำคัญคือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร ซึ่งจะส่งผลให้มีรายได้สูงขึ้นในอนาคต
Enterprise Resource Planning (ERP) Systems
                Software เหล่านี้ มักจะนำมาใช้ทีละ module โดยใช้ควบคู่ไปกับระบบเก่า เพื่อไม่ให้พนักงานต้องเรียนรู้มากเกินไป และค่อยๆปรับตัวได้ ซึ่งการปรับใช้ทันทีจะเกิดปัญหากับพนักงานได้ ตัวอย่างผู้ให้บริการระบบ ERPเช่น SAP, Oracle เป็นต้น
                โดย Software เหล่านี้ถึงแม้จะมีประโยชน์ที่สูง แต่มักจะมีราคาที่แพง และก่อนที่นำมาใช้งานก็จะต้องมีการปรับปรุงหน้าต่างเครื่องมือต่างๆ ให้เข้ากับระบบการใช้งานของบริษัทก่อน ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง จึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมในองค์กรขนาดเล็ก

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

week9

Week9: Data management & Business Intelligence

           การที่เราจะได้มาซึ่ง Data warehouse จำเป็นที่จะต้องนำข้อมูลที่เรามีนั้นผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อตัดความผิดพลาดหรือความไม่สอดคล้องของข้อมูลออกก่อน ซึ่งกระบวนการต่างๆเป็นดังนี้

Data warehouse process

1.การจัดหาข้อมูลจาก Database ต่างๆ หรืออาจรวมถึงข้อมูลจากแหล่งภายด้วยได้
2.กระบวนการในการจัดทำให้พร้อมสู่การนำเข้าสู่ Data warehouse ดังนี้
                2.1Extract นำข้อมูลสู่ระบบ
                2.2Clean คือการทำให้ข้อมูลอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เช่นการบันทึกวันเดือนปีเกิดที่อาจอยู่ต่างรูปแบบกันเป็นต้น
                2.3Transform ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม
                2.4Load คือการอัพโหลดข้อมูลสู่ Data cube
3.ข้อมูลใน Data warehouse จะประกอบด้วยหลายๆ Data cube ซึ่งสามารถที่จะเรียกดูข้อมูลต่างๆผ่าน Dash board

Data Mart
                เปรียบเสมือนกับเป็น Data warehouse ขนาดเล็ก คือมีข้อมูลเฉพาะส่วนงานนั้นๆไม่ได้มีปริมาณมากเหมือนกับ Data warehouse แต่ก็สามารถที่จะใช้วิเคราะห์เป็นประเด็นย่อยๆได้ ซึ่งมีแนวทางการได้มา 2 แบบคือ
1.Replicated คือจะเกิดจากการที่บริษัทมี Enterprise Data warehouse แล้วนำส่วนย่อยๆไปสร้างเป็น Data mart
2. Stand-alone คือบริษัทไม่พร้อมจะทำ Enterprise Data warehouse จึงสร้าง Data mart เป็นแต่ละแผนกเช่น การเงิน การบัญชี การตลาดเป็นต้น

Business Intelligence (BI)

                เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อการเรียกใช้ข้อมูลที่อยู่ใน Database มีไว้เพื่อให้สามารถเรียกดูข้อมูล รวมถึงช่วยในการแสดงผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้งานต้องการได้ซึ่งปัจจุบันก็มีหลากหลายผู้ผลิตที่สร้าง BI ขึ้น และแต่ละโปรแกรมก็จะมีการแสดงผลที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่โดยหลักแล้วจะมีฟังก์ชันการใช้งานพื้นฐานดังนี้
1.Dash boards เป็นการแสดงข้อมูลให้อยู่ในแบบที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย โดยส่วนมากจะเป็นกราฟเพื่อสะดวกในการดูแนวโน้มต่างๆโดยจะมีตัวชี้วัดต่างๆประกอบ ซึ่งตัวชี้วัดต่างๆนี้ก็จะถูกนำมาจาก Balance Scorecard จึงทำให้ดูเหมือนว่า Dash board เป็นการแสดง Balance Scorecard นั่นเอง
2.Business Performance Management เป็นการจัดการที่ใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ ขึ้นอยู่กับ BI Analysis Reporting, dashboards & scorecards

Analytic
Data Mining
                เป็นการค้นหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เป็นการทำให้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากใน Databases กลายเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจผ่านการใช้เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วย 5 รูปแบบ ได้แก่
1.Clustering เป็นการจัดกลุ่มข้อมูล ทำโดยการนำข้อมูลมาแสดงเป็นกราฟ แล้วสังเกตถึงรูปแบบการกระจายตัวของข้อมูลซึ่งอาจจะพบรูปแบบต่างๆได้
2.Classification เป็นเหมือนกับ Clustering แต่มีการตั้งสมมติฐานไว้แล้ว
3.Association เป็นผลสืบเนื่องที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นแบบเกี่ยวข้องกัน เช่นคนที่ซื้อขนมปัง มักจะซื้อแยมไปด้วยเป็นต้น
4.Sequence Discovery 
5.Prediction การคาดการณ์ล่วงหน้า (forecast)

Text mining เป็นแอพพลิเคชันที่จะช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่มีรูปแบบการจัดเก็บที่แน่นอน เช่นคำแนะนำของลูกค้า หรือสิ่งที่ลูกค้าไม่ชอบ เป็นต้น ซึ่งแอพพลิเคชันนี้มีความสามารถในการหาคำสำคัญในบทความต่างๆได้ มีการใช้ประโยชน์ในการป้องกัน Email Spam เป็นต้น